ประเพณีการแข่งเรือยาวใน จังหวัดพิจิตร

ประเพณีการแข่งเรือยาวใน จังหวัดพิจิตร

ประเพณีการแข่งขันเรือยาว เป็นการละเล่นที่แสดงความเป็นวิถีชีวิตของชาวไทยที่อยู่ในชนบทที่อาศัยอยู่ใกล้ๆน้ำ ในช่วงเดือน 11 กับ เดือน 12 เป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างจากการทำไร่ทำนาเลยเป็นโอกาสที่จะได้เห็นการแข่งขันเรือยาวกันอย่างสนุกสนาน อีกทั้งยังได้เห็นความสามัคคีกันของเหล่าผู้แข่งขัน การแข่งเรือก็มักจะมีการเล่นเพลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงเรือ เพลงครึ่งท่อน เป็นการโต้ตอบกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงหลังจากการแข่งเรือเสร็จ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนและได้แสดงความสามารถได้ทั้งชายและหญิง ผู้รับชมที่อยู่บนตลิ่ง และ อยู่ที่พายเรือกันเป็นหมู่ ต่างพากันสนุกสนานอย่างทั่วหน้า

 

การแข่งเรือยาวของ จังหวัดพิจิตร เริ่มในสมัยท่าเจ้าคุณพระธรรมทัสส์มุนีวงค์ เป็นเจ้าอาวาสของวัดท่าหลวง และยังเป็นทั้งเจ้าคณะของ จังหวัดพิจิตร อีกด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2450 ได้มีการจัดงานเทศกาลแข่งเรือขึ้น คือ วันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ต่อมาน้ำในแม่น้ำน่านที่ใช้ในการแข่งเรือก็ลดลงอย่างรวดเร็วจึงไม่เหมาะกับการแข่งเรืออีก จึงมีการเปลี่ยนการแข่งขันใหม่เป็นวัน 6 ค่ำ เดือน 10 และใช้เวลาในการแข่งเรือนี้แค่วันเดียวเท่านั้น ในอดีตรางวัลสำหรับทีมที่ชนะเลิศ และ รองชนะเลิศ จะได้  ผ้าห่มหลวงพ่อเพชร แต่ภายหลังเปลี่ยนรางวัลเป็นธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน

 

ต่อมาจะเป็นพูดถึงขนาดของเรือในการแข่งขันและ ประเภทของการแข่งขัน อย่างแรกคือ ขนาดพายมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก บรรจุคนได้ไม่เกิน 28 คน, ขนาดกลาง บรรจุคนได้ไม่เกิน 40 คน, ขนาดใหญ่ บรรจุคนได้ไม่เกิน 55 คน อย่างที่สอง คือ ผู้แข่งขันที่ได้แข่งขันวันแรกแล้วชนะในวันนั้น จะถูกจัดอยู่ในประเภท ก 1, ข1 แต่ถ้าหากแข่งขันวันแรกแล้วแพ้วันนั้น ก็จะจัดอยู่ประเภท ก2, ข2

 

สนใจทัวร์ พิจิตร ติดต่อเราได้ที่นี่ …

Line : @tourddtooktook

☎โทร: 02-010-8840

สายด่วน: 091-739-6939 พี่หวิน // สายด่วน: 090-894-3331

เว็บไซต์:  https://www.we-rworldtour.com/

Facebook:  https://www.facebook.com/werworldtour/

❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜

ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก : shutterstock