ศาลหลักเมือง จ.นครศรีธรรมราช

ศาลหลักเมือง จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติการสร้าง ศาลหลักเมือง

สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ศาลหลักเมือง ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับภาคเอกชนก่อสร้างศาลขึ้นมาบนที่ดินราชพัสดุ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ 2 ไร่ ซึ่งประกอบไปด้วย อาคาร 5 หลัง หลังกลางเป็นที่ประดิษฐานของศาลหลักเมือง ออกแบบให้มีลักษณะที่คล้ายกับศิลปะศรีวิชัย เรียกว่า ทรงเหมราชลีลา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2532 ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลัง ถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วยพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพรบันดาลเมือง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2542 ผู้ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองคือ ยุทธนา โมรากุล

 

 

ขั้นตอนในการทำพิธีในการสร้าง ศาลหลักเมือง

  1. พิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง กระทำที่ป่าช้าวัดชะเมา ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นการล้างอาถรรพ์ดวงชะตาเมืองเดิม ซึ่งเรียกว่า ดวงราหูชิงจันทร์ หรือ ดาวพินธุบาทว์ ซึ่งการเผาดวงชะตาในครั้งนี้ ใช้ เพชญมาตฤกษ์ คือเลยเที่ยงคืนไป 1 นาที ของปลายปี พ.ศ. 2528
  2. พิธีลอยชะตาเมือง เพื่อทำลายดวงชะตาเมืองเดิม ทำแพจากต้น กล้วยไม้ , เก็บดิน 4 มุมเมือง , น้ำ 5 ท่า , ดาบเก่า 4 เล่ม , รูปคนทำด้วยดินปั้น 4 รูป , เสาไม้ตะเคียนทอง 1 ต้น , พญาโหราเรียกอาถรรพณ์จัญไร บรรจุลงต้นตะเคียนทอง เสกคาถาลงยันต์แล้วนำไปลอยที่ปากน้ำปากนคร
  3. พิธีกรรมสะกดหินหลัก กระทำที่บริเวณฐานพระสยม ตลาดท่าชี ต.ในเมือง หินหลักเป็นสิ่งที่พวกพราหมณ์ดั้งเดิมฝังอาถรรพณ์เสนียดจัญไรเอาไว้
  4. พิธีปลุกยักษ์วัดพระบรมธาตุ เพื่อ ให้ทำหน้าที่รักษาบ้านเมือง หลักจากถูกอาถรรพณ์สะกดมานาน นอกจากนั้นยังปลุกพระมหากัจจายนะ พระปัญญา พระพวย และเทวดาอีกด้วย
  5. พิธีปลุกพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระทั้งสององค์สถิตอยู่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งหลับใหลมานานปี ให้ตื่นขึ้นมาช่วยบ้านเมือง
  6. พิธีกรรมพลิกธรณี กระทำที่ริมรั้วป่าช้าวัดชะเมา พลิกดินที่ชั่วร้ายสกปรกฝังไว้เบื้องล่าง เอาดินดีขึ้นมาไว้เบื้องบน เพื่อบ้านเมืองจะได้ร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรืองต่อไปในวันข้างหน้า
  7. พิธีพรรมเทพชุมนุมตัดชัย กระทำที่วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 เวลา 12.39 น. ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู นับเป็นพิธีกรรมอันสำคัญ การทำพิธีในครั้งนี้มี พระเทพวราภรณ์ เป็นประธานฝ้ายสงฆ์ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นประธารฝ่ายฆราวาส จุดมุ่งหมายของพิธีกรรมนี้ เพื่อสร้างสวัสดิมงคลแก่จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการเจริญพระพุทธมนต์ และแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์แล้ว เทวดารักษาเมืองยังมาชุมนุมเสกผ้ายันต์สิบสองนักษัตรจำนวน 3,000 ผืน เขียนผ้ายันต์จำนวน 108 ผืน และประกาศบอกกล่าวแก่ผู้คนให้มาช่วยกันสร้างศาลหลักเมือง
  8. พิธีกรรมตอกหัวใจสมุทร เพื่อให้ดวงชะตาเมืองถูกบรรจุด้วยธาตุทั้ง 4 กระทำ ณ สี่แยกคูขวาง เมื่อวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือนยี่ เวลาประมาณ 18.30 น. การที่เลือกบริเวณกลางสี่แยกคูขวางเป็นจุดตอกหัวในสมุทร เหตุเพราะ จุดดังกว่าได้ศูนย์กับองค์พระธาตุ ภูเขามหาชัย และได้ศูนย์กับทิศทั้ง 8 ตามตำราของชาวเมืองสิบสองนักษัตร
  9. พิธีฝังหัวใจเมือง กระทำเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2529 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู เวลา 11.39 น. ณ จุดตอกหัวใจสมุทร ด้วยการขุดหลุดลึก 9 ศอก เจ้าพิธีอ่านโองการ อุปกรณ์พิธีกรรมฝังหัวใจเมือง ประกอบด้วยสิ่งของ 7 ชนิด ฝังลงในหลุมรวมกับแผ่นหัวใจเมือง ดินจากทุกตำบล ทุกหมู่บ้านในเมืองสิบสองนักษัตร ที่ประชาชนนำมาใส่ลงในหลุมด้วย วัตถุธาตุแทนธาตุ 4 ประกอบด้วย ถ่าน (แทนธาตุไฟ) , เกลือ (แทนธาตุน้ำ) , ข้าวเปลือก (แทนธาตุลม) , ทราย (แทนธาตุดิน) , พญาไม้มงคล 9 ชนิด, ผ้าสี 12 ผืน วางก้นหลุมเป็นลำดับแรก ทุกอย่างใส่ลงในหลุมทั้งหมด
  10. พิธีกรรมประติมากรรม โดยแกะสลักด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งต้น ซึ่งได้มาจากเขายอดเหลือง ในท้องที่ตำบลกะหรอ อำเภอท่าศาลา มีลักษณะแปลก คือ บริเวณรอบโคน มีลักษณะเตียนโล่ง ซึ่งเรียกว่า ลานนกหว้า หรือ ตะเคียนใบกวาด การแกะสลักทำที่บ้านพักผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช
  11. พิธีเบิกเนตรหลักเมือง กระทำกันต่อเนื่องถึง 3 วัน คือ วันที่ 3 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2530 วันที่ 3 มีนาคม อัญเชิญหลักเมืองที่แกะสลักเรียบร้อยแล้วไปประดิษฐานที่วิหารหลวง วัดบรมธาตุหลังจากพระเถระเจริญพระพุทธมนต์ และ เจ้าพิธีรำกระบี่โบราณถวายสักการะแล้วก็เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนนราชดำเนินไปยังตลาดท่าวัง แล้ววกกลับสู่สนามหน้าเมือง อัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่สนามหน้าเมืองอัญเชิญหลักเมืองเมืองขึ้นสู่ที่ประดิษฐานชั่วคราวให้ ประชาชนสักการะขบวนช้าง – ม้า ศิลปินพื้นบ้านกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆวงดุริยางค์ และ ประชาชนจากทั่วสารทิศ ขบวนยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ประชาชนคอยชมขบวนมืดฟ้ามัว ดินเป็นประวัติการณ์

         วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2530 เวลา 10.30 น. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมารับมอบหลักเมืองเป็นของทางราชการ

         วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2530 ตอนค่ำมีพิธีสงฆ์ จากนั้นเจ้าพิธีอ่านโองการเชิญเทวดา ต่อมาท่านประธาน จุดเทียน อันเป็นการประจุจิตวิญญาณ               ของเทวดารักษาเมือง เข้าไปสิงสถิตภายในเสาหลักเมือง ให้สามารถรับรู้เหตุการณ์ และคุ้มครองดูแลได้ จากนั้นมีการจุดพลุถวายสักการะ มี               ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ร่วมปิดทอง สักการะ เป็นเสร็จพิธี

  1. พิธีการเจิมยอดชัยหลักเมือง เป็นพิธีกรรมที่สำคัญ และถือเป็นมงคลอย่างสูงสุด คือทรงเจิมยอด ชัยหลักเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลัดกระทรวง มหาดไทย นำคณะอันประกอบด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี วุฒิสมาชิก พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนผู้ร่วมจัดสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นำยอดชัยหลักเมืองเพื่อทรงเจิม ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ยอดชัยหลักเมืองที่ทรงเจิมในวันนั้น
  2. พิธีแห่ยอดชัยหลักเมือง กระทำวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 เป็นการต้อนรับยอดชัยหลักเมือง ซึ่งคณะฯ นำของรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากกรุงเทพมหานคร แห่จากสนามบินกองทัพภาคที่ 4 มายังสนามหน้าเมืองมีขบวนช้างศึก ม้าศึก และประชาชน จำนวนมาก
  3. พิธีอัญเชิญหลักเมืองขึ้นสู่ศาลถาวร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
  4. พิธีสวมยอดชัยหลักเมือง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2531 โดยพลเอก สุจินดา คราบประยูร
  5. พิธีเททองปลียอดศาลหลักเมืองและศาลบริวาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยมีนาย บัญญัติ บรรทัดฐาน ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ยังเป็นประธานในพิธี

 

 

ลักษณะของศาลหลักเมือง

องค์เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ตะเคียนทองที่ได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดความสูง 2.94 เมตร ลวดลายที่แกะสลัก ตั้งแต่ฐาน ซึ่งเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย ส่วนบนของเสาเป็นรูปจุตคามรามเทพ เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ คือ ยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการ แกะสลักจินตนาการจากความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลทางศิลปกรรมในภาคใต้และนครศรีธรรมราชแต่ครั้งโบราณ

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเหมือนกันทั้ง 4 ด้าน ซึ่งแต่ละจุดมีความแตกต่างอยู่ที่มีรูปไก่ยืนอยู่ 1 คู่ลานทักษินรอบศาลหลักเมืองปูด้วยอิฐบล็อครูปแปดเหลี่ยม รอบนอกลานทักษินมีวิหารราย ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ อยู่ภายใน

 บริเวณด้านหน้าของศาลหลักเมือง มีถนนผ่านระหว่างศาลหลักเมืองกับสนาม อีกทั้งยังมีรถมาขายของกินกับเครื่องดื่มไว้สำหรับประชาชนที่เดินทางมาไหว้ศาลหลักเมือง ด้านหลังศาลหลักเมืองมีลานจอดรถ เมื่อเข้าไปทางด้านในแล้ว จะพบว่าจะมีคนเยอะมากในวันหยุด เพื่อมาจุดธูปเทียนบูชาศาลหลักเมือง อย่างสุดท้าย คือ เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช นอกเหนือจากเสาหลักเมืองแล้ว ภายในศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชยังมีรูปสมเด็จพรหมรังสี และหลวงปู่ทวด รวมทั้งยังมีพระพุทธรูปอีกหลายองค์

 

สนใจทัวร์ นครศรีธรรมราช ติดต่อเราได้ที่นี่ …

Line : @tourddtooktook

☎โทร: 02-010-8840

สายด่วน: 091-739-6939 พี่หวิน // สายด่วน: 090-894-3331

เว็บไซต์:  https://www.we-rworldtour.com/

Facebook:  https://www.facebook.com/werworldtour/

❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜

ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก : shutterstock