ประเพณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีของคนภาคใต้ โดยเฉพาะของชาวนครศรีธรรมราชที่ได้รับมาจากด้านความเชื่อของทางศาสนาพราหมณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชนและเครือญาติที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะได้รับการปล่อยตัวจากนรก เมื่อครั้นที่ตนได้เคยทำไว้ตอนมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มการปล่อยในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมาโลกมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การมาขอส่วนบุญของลูกหลานที่ได้เตรียมไว้ เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้ล่วงลับไปแล้ว หลังจากนั้นก็จะกลับไปอยู่ที่นรกเหมือนเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

 

การทำบุญวันสารทเดือนสิบ  หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้น ในเดือนสิบ (กันยายน)  มีการทำบุญที่วัด 2 ครั้ง

ครั้งแรก วันแรม    1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันรับเปรต

ครั้งที่สอง วันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต

 

ขนมเดือนสิบ

ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทน เรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้น แผ่ดังแพ มีน้ำหนักเบา ย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้

ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทน แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลา มีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้

ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทน ลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่น ต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้า มีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน

ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทน เงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนม คล้ายเบี้ยหอย

ขนมกง (ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะ คล้ายกำไล แหวน

 

ประเพณีสารทเดือนสิบ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2466 ที่สนามหน้าของจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อหาเงินมาสร้างสโมสรข้าราชการ ซึ่งชำรุดไปมากแล้วในตอนนั้น ในช่วงนั้นพระภัทรนาวิก จำรูญ ที่เป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีการร่วมกันในการจัดงานประจำปีขึ้น นอกจากนั้นมีการออกร้านและจัดงานมหรสพต่าง ๆ โดยมีการจัดงานอยู่แบบนี้เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน จนกระทั่ง เมื่อถึงปี พ.ศ. 2535 ได้มีการย้ายที่จัดงานจากสนามหน้าเมือง ไปยังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งมีพื้นที่ที่มากกว่าเดิม

ประเพณีสารทเดือนสิบจะทำพิธีกรรมอยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ อย่างแรก การจัดหฺมฺรับ เริ่มเมื่อในวันแรม 13 ค่ำ ชาวบ้านจะทำการเตรียมอาหารแห้ง พืชผัก ข้าวของเครื่องใช้ และขนมทจัดเตรียมใส่ในหฺมฺรับ การจัดหฺมฺรับ คือ การบรรจุสิ่งของ อาหาร และขนมในภาชนะที่เตรียมไว้ ขั้นตอนที่สอง การยกหฺมฺรับ ในวันแรม 14 หรือ 15 ค่ำ ชาวบ้านจะยกหฺมฺรับที่เตรียมไว้ไปที่วัด และนำไปถวายให้แก่พระ โดยจะเลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน ขั้นตอนที่สาม การฉลองหฺมฺรับและบังสุกุล เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนหนึ่งกับสองแล้ว ก็จะมีการฉลองหฺมฺรับ และทำบุญเลี้ยงพระแล้วจึงมีการบังสุกุล ซึ่งการทำบุญในครั้งนี้จะเป็นการส่งบรรพบุรุษให้กลับไปในเมืองนรก ขั้นตอนสุดท้าย คือ การตั้งเปรต ชาวบ้านจะนำขนมส่วนหนึ่งไปวางตามบริเวณลานวัดข้างๆกับกำแพงวัด ตรงโคนไม้ใหญ่จะเรียกว่า ตั้งเปรต เพื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ

 

สนใจทัวร์ นครศรีธรรมราช ติดต่อเราได้ที่นี่ …

Line : @tourddtooktook

☎โทร: 02-010-8840

สายด่วน: 091-739-6939 พี่หวิน // สายด่วน: 090-894-3331

เว็บไซต์:  https://www.we-rworldtour.com/

Facebook:  https://www.facebook.com/werworldtour/

❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜🖤❤️🧡💛💚💙💜

ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก : shutterstock